HOME
PRODUCT
ABOUT US
CLIENTS
SUPPORT
CONTACT US
WHAT IS SURGE ?
ความหมายของ “ เสิร์จ (Surge) ” หรือไฟกระโชก ในทางไฟฟ้าหมายถึงความเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าชั่วคราวซึ่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า หรือ ความถี่และเนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ชั่วขณะจึงหมายถึงรูปลักษณะที่ปรากฏเป็นพัลซ์แคบๆ (Short duration pules) ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นกับสายจ่ายไฟฟ้าจึงเกิดในลักษณะที่ผสมรวม (Superimposing) ไปบนรูปคลื่นไซน์ของไฟกระแสสลับปกติ โดยที่ไม่จำกัดว่าจะเกิดขึ้นในลักษณะไฟลบหรือไฟบวกดังตัวอย่างในรูป
ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นก่อให้เกิดสภาพของแรงดันเกิดแบบเฉียบพลันขึ้นกับ ระบบไฟฟ้าไฟกระโชกอาจมีขนาดเพียงสองสามเท่าของแรงดันไฟปกติหรืออาจสูงถึงหลายสิบเท่าในขณะที่ ช่วงเวลาของการเกิดอาจสั้นเพียง 0.5 ไมโครวินาที ไปจนถึงหลายมิลลิวินาที ลักษณะที่เกิดนอกจากเป็น พัลซ์เดี่ยวแล้วก็อาจเกิดในรูปของหลายพัลซ์ต่อเนื่อง (Multi pulse) หรือ แบบออสซิเลชั่นพัลซ์ (Oscillation pulse) ได้ด้วยแหล่งกำเนิดหลักของ ไฟกระโชกทางสายจ่ายไฟฟ้าก็คือ ฟ้าผ่า (Lightning surge)
SELECTION GUIDE OF SURGE PROTECTOR
สายจ่ายไฟฟ้านับเป็นทางเข้าที่สำคัญอย่างยิ่งของเสิร์จ (Surge) หรือไฟกระโชกที่จะเข้ามาทำอันตรายให้กับระบบงานของเราไม่จำกัดเฉพาะ จะเป็นระบบสื่อสารหรือคอมพิวเตอร์แต่หมายรวมเอาระบบงานที่มีอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เป็นองค์ประกอบเราพบว่ากว่าครึ่งของความเสียหายอันเนื่อง มาจากฟ้าผ่าและไฟกระโชกของอุปกรณ์และระบบงานอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้น ทางด้านของสายจ่ายไฟฟ้าในขณะที่อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้องกันที่มีจำหน่าย อยู่ในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิดยากที่จะสรุปเลือกได้ว่าตัวใดที่เหมาะสม กับความต้องการของระบบงาน บทความนี้แม้จะไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่าแบบใด ลักษณะไหนดีที่สุดแต่ก็ให้แง่คิดและแนวทางในการพิจารณาตลอดจนข้อมูล อ้างอิงจากมาตราฐานสากลต่างๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ ANSI / IEEE เป็นต้น
แนวคิดในการเลือก
แนวคิดหรือหลักเกณฑ์ในการเลือกอุปกรณ์ป้องกันเครื่องป้องกัน ไฟกระโชกซึ่งจำเพาะแต่ไฟกระโชกทางสายจ่ายไฟฟ้าแต่ยังใช้ได้กับการป้อง กันสายนำสัญญาณชนิดอื่นๆด้วยมีดังนี้
ในสภาวะปกติแล้วเครื่องป้องกันจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลที่ผิดปกติหรือเลวร้ายต่อสัญญาณ ของระบบงานที่ผ่านตัวมันตรงนี้พอสรุปได้ว่าใส่เครื่องป้องกันแล้วต้องไม่ทำให้สัญญาณผิด เพี้ยนหรือขาดหายไปถ้าเป็นไฟฟ้าก็ต้องไม่ก่อให้เกิดสภาพไฟตก(จนผิดปกติ) รูปคลื่นซายน์ผิดเพี้ยนหรือเกิดฮาโมนิคที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นตรงนี้ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจเป็นอย่างดีว่าสัญญาณที่อยู่บนวงจรที่ต้องการป้องกันเป็น เช่นไรและจะต้องเข้าใจการทำงานและคุณสมบัติของเครื่องป้องกันว่าเป็นอย่างไรจะมีผลกระทบต่อกันหรือไม่
ในสภาวะวิกฤติที่มีไฟกระโชกเกิดขึ้นแล้วเครื่องป้องกันทำงานแรงดันผ่าน ที่ไปปรากฏต่อระบบงานต้องไม่สูงเกิดกว่าขีดจำกัด (Surge withstand rating) ที่ระบบงาน(หรืออุปกรณ์ในระบบงาน)จะทนได้ตรงนี้พอจะสรุปได้ว่าผู้ใช้จะต้องมีความรู้ต่อระบบงาน อุปกรณ์ในระบบงานว่ามีขีดจำกัดทางไฟฟ้าอย่างไรบ้างซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลพวกนี้สามารถหาได้จาก คู่มือเครื่องหรือจากผู้ผลิตเองนอกจากนี้ยังจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของเครื่องป้องกัน ที่จะเลือกเข้าใช้งานด้วย ว่าคุณสมบัติเรื่องแรงดันผ่านเป็นอย่างไร
ในสภาวะวิกฤติที่มีไหกระโชกเกิดขึ้นแล้วเครื่องป้องกันทำงานเครื่องป้องกันจะต้องมีความเร็วสูงพอที่จะตอบสนองต่อไ ฟกระโชกทันการณ์ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อระบบงาน(หรืออุปกรณ์ในระบบงาน)ที่ป้องกันข้อนี้คงไม่ต้องขยายความกัน
ในสภาวะวิกฤติที่มีไฟกระโชกเกิดขึ้นแล้วเครื่องป้องกันทำงานเครื่องป้องกันจะต้องสามารถทนต่อระดับไฟ กระโชกที่เข้ามาได้โดยไม่ถูกทำลายก่อนข้อนี้ยากหน่อยตรงที่เราไม่รู้จะไปหาข้อมูลที่ไหนว่าระดับของไฟกระโชก ที่จะเข้ามาระบบงานของเราเป็นอย่างไรเพราะในแต่ละครั้งก็มักจะไม่เท่ากันเสมอไป аё”аё±аё‡аё™аё±а№‰аё™а№ѓаё™аёЄаёіаё«аёЈаё±аёљаё‚а№‰аё­аё™аёµа№‰аё§аёґаё˜аёµаёЃаёІаёЈ ที่ง่ายที่สุดก็คือคัดเลือกเครื่องป้องกันที่มีพิกัดไฟกระโชกสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะจะทำให้ทนทานใช้งานได้นานอย่างไรก็ตามก็คงจะ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมด้านงบประมาณด้วย